มุมมองเรื่องบ้าน 

 สวนสวยๆ

     ระแนงไม้      
เรื่อง   แนวทางการออกแบบบ้าน อาคารและมุมมองส่วนตัว
       ว่าด้วยเรื่องบ้านๆ อาคารๆก่อน ถือว่าเป็นงานถนัดอย่างหนึ่งของผมเลย เพราะตรงกับที่เรียนมาจนได้ปริญญา 2ใบโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน

       แต่เชื่อหรือไม่ว่าคุณค่าของความคิดในสายวิชาชีพนี้นั้น คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับมันนัก เพราะเป็นเรื่องของค่าความคิดที่จับต้องไม่ได้.. ทั้งที่จริงๆแล้วมันคือหัวใจสำคัญของการมีบ้านสวยๆในฝันของทุกคนเลย บ้านที่ลงตัวกับพื้นที่ สภาพแวดล้อมและออกมาจากตัวเราเองจริงๆ สวย ใช้งานได้ และมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร รวมถึงการออกแบบที่มีคุณสมบัติพิเศษต่างเช่นในเรื่องของอาคารประหยัดพลังงาน อาคารอัจฉริยะ (smart home) หรือในเรื่องสไตล์ของอาคารตามที่เราชอบ เช่นในรูปแบบ Modern ที่ดูทันสมัยแต่ลงตัวกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนแบบไทย
        ดังตัวอย่างในรูปด้านบน  มันไม่ใช่อาคารสไตล์ Modern  ธรรมดาที่เน้นกระจกและร้อน  แต่มันเป็นอาคารที่ประยุกต์ให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศแบบไทยๆ ในโหมดอาคารประหยัดพลังงาน  ที่มีกระจกโปร่งแต่ไม่ร้อนได้   รวมถึงเป็นอาคารแนวยาว  ตามขนาดของที่ดินที่แนวยาว  ที่มีขนาดที่ดินแค่ 100  ตรว.นิดๆเท่านั้น ซึ่งเราไม่มีทางหาแบบบ้านที่ลงตัวแบบนี้ได้ในแบบบ้านสำเร็จรูป หรือบ้านสั่งสร้างที่ใช้แบบสำเร็จทั่วๆไปแน่นอน  อีกทั้งบ้านหลังนี้ยังคำนิงถึงเรื่อง space และมุมมองภายในบ้าน ที่ออกแบบให้โปร่งโล่ง กลมกลืนเชื่อมโยงระหว่างspace ภายในและภายนอกที่เป็นในส่วนของสวน รวมถึงได้บรรยากาศที่ลงตัวกับพื้นที่ ที่ถึงแม้จะมีขนาดไม่กว้างมากก็ตาม
       กลับมาในเรื่องของการใช้ความคิดในการออกแบบบ้าง ขอยกตัวอย่างในการออกแบบในเรื่องทั่วๆไปก่อน คนที่ออกแบบเก่งๆ คือคนที่รู้จักนำวัสดุพื้นบ้าน ราคาไม่แพงแต่มาใช้ไอเดีย ความคิดทำออกมาให้สวย บางคนใช้แต่วัสดุๆแพงๆ แต่ไม่มีหัวในการdesign ก็ออกมาเท่านั้นแล.....

แต่ก็มีให้เห็นกันบ่อยๆ บางทีคิดงาน คิดแบบ คิดลวดลาย คิดวิธีการแทบตาย แต่บางท่านก็ไปตีราคางานค่าความคิดของเขาแค่ต้นทุนอิฐ ต้นทุนปูน แล้วบอกว่า คิดแพง หรือเอางานไปเทียบกับงานช่างตาสีตาสา แล้วบอกแพง ไม่บางท่านก็ทำด้วยตัวเองด้วยต้นทุนซึ่งต่ำกว่าทุนจริงๆเพราะไม่มีค่าโสยหุ้ยต่างๆ ที่ผู้ประกอบการเขามี (แต่เขาทำออกมาสวยหรือไม่ก็คงอีกเรื่อง) แล้วเอาราคาที่ตัวเองทำต่ำกว่าต้นทุนนั้นไปเป็นตัวเทียบกับคนที่เขาทำเป็นอาชีพเลี้ยงปากเลี้ยงท้องว่าเขาแพง ทั้งที่ไอเดีย มาตรฐาน คุณภาพงาน ต้นทุน ความรับผิดชอบ ก็ต่างกัน

หรือบางท่านมองจากเรื่องราคาเป็นหลักเอาแต่ของราคาถูกๆที่สุด เอาน่ะคนนี้คิดถูกจ้างคนนี้ดีกว่า จนลืมไปว่า ค่าความคิด ความตั้งใจ ฝีมือและประสบการณ์ของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน บางคนทำถูกๆจริงๆ แต่ทำได้ดีหรือไม่ล่ะ ? คุณภาพงานที่ออกมาดีไหมล่ะ? ผลงานที่เขาเคยทำนั้นจะเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดี... ว่าเขาทำออกมาได้สมราคาไหม ?


คิดๆก็แปลกใจ ทำไมคนเราซื้อสี ซื้อกระดาษ ซื้อผ้าใบ มาวาดรูปได้เหมือนๆกัน แต่ทำไมบางคนวาดภาพขายได้ภาพเป็นแสนเป็นล้าน แต่บางคนวาดแล้วให้ฟรีๆก็ยังไม่มีใครเอา...

อย่างภาพข้างล่าง วัสดุก็ไม่ได้พิสดารและแพงอะไรเลย... แต่ใช้คุณค่าของความคิดมาทำให้มันสวยขึ้นมา

เอ..สังคมส่วนใหญ่เป็นแบบนี้แล้วเราทำไงดี ? ถ้าขายความคิดที่จับต้องไม่ได้อย่างเดียวเอาตัวไม่รอดแน่ๆ ดังนั้นเลยต้องผันปรับตัวเองไปทำหลายqสิ่งที่จับต้องได้ในวิชาชีพที่ใกล้เคียงกันและพัฒนาไปสู่อาชีพอื่นๆที่เราทำได้และสุจริต
ทำอย่างไรล่ะ? ก็ใช้จินตนาการและการวิเคราะห์ ควบคู่กันสิ สำคัญนะครับ!! ถ้ามีลูกมีหลาน อย่าลืมว่าจิตนาการและการวิเคราะห์ คิดเองได้นี่และสำคัญมากๆ ส่งเสริมเรียนภาษาได้ วิชาการได้ แต่ทำไมที่เห็นกันส่วนใหญ่ไม่ค่อยส่งเสริมเรื่องจินตนาการนี้เท่าไหร่เลย ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เกรดเฉลี่ยเองนั้นไม่ได้ช่วยอะไรในการทำงานเลยสักนิด ถึงถ้าคุณได้เกรดสูงๆ แต่ทำงานไม่เป็น ก็ได้ไว้แค่คุยอวดกันไปอวดกันมา... แต่ถ้าลูกคุณเรียนได้เกรดสูงๆ และมีจินตนาการ ทำงานได้ดีล่ะ ? สุดยอดเลยครับ

มากันต่อ แล้วงานไอ้ที่ว่าอย่างอื่นๆของผมอีกนั้นคืออะไรบ้างล่ะ ดังเช่นงานในรูปด้านบนก็เป็นอีกสายนึงของอาชีพที่เราจับต้องได้ และสามารถนำวิชาความรู้มาประยุกต์ทำมาหากินได้ ส่วนงานอื่นๆ ก็คงต้องดูในเวป อื่นๆ หรือในเวปผมแล้วล่ะ


นอกเรื่องไปนานน ขอกลับเข้าเรื่องบ้านกับอาคารดีกว่า..

ถึงเป็นแบบนั้นก็เถอะ แต่ก็ยังมีอีกหลายๆท่านที่เห็นและให้ความสำคัญของค่าความคิดพวกนี้ ทำให้เราไม่ได้ล่ะทิ้งในสิ่งที่ชอบและเรียนมา และยังมีงานด้านนี้อยู่ตลอดๆ ในหลายๆรูปแบบ หลายๆสไตล์ แต่ทุกสไตล์ จะให้ความสำคัญสอดแทรก บรรยากาศ ต้นไม้ ธรรมชาติ เรื่องของสวนสวยๆ ลงไปด้วยพร้อมๆกันในการออกแบบทีเดียว (แน่นอนเพราะเป็นconcept งานผมนี่นา) ในรูปแบบ Tropical สไตล์ที่เหมาะกับเมืองไทย เช่นรูปข้างล่าง เป็นบ้าน 3ชั้น ที่เจ้าของบ้านต้องการอารมณ์แบบรีสอร์ท
       อย่างบ้านหลังนี้ก็เป็นบ้านชั้นเดียวสไตล์บาหลี สร้างขึ้นให้ต่อเนื่องจากบ้านหลังใหญ่ ที่เน้นบรรยากาศต่อเนื่อง และเข้ากับธรรมชาติที่สำคัญ ไม่ร้อน และประหยัดพลังงานด้วยเช่นกัน
      หรือบ้านเก่าอายุเกือบๆ 20 ปี เองอย่างรูปด้านล่าง ก็สามารถ Renovate ออกแบบปรับปรุงบ้าน ให้ดูดี ร่วมสมัยและมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น โดยการเพิ่มบ้านชั้นเดียว ปรับปรุงการใช้งานจองบ้านเดิม ตกแต่งผนังและกรอบอาคารใหม่ แล้วสร้างบรรยากาศรอบๆ โดอยู่ในงบประมาณที่ตั้งไว้ ก็ทำให้ดูดีและมีบรรยากาศหน้าอยู่มากขึ้นเหมือนได้บ้านใหม่แล้วเลยล่ะ...

ส่วนใหญ่ เทรน ใหม่ๆมีหลายสไตล์ แนวที่คิดว่าเหมาะกับเมืองไทยจริงๆ ก็คือบ้านสไตล์ tropical นี่แหละที่เหมาะที่สุด เพราะเข้ากับสภาพอากาศแบบร้อน ชื้น แต่ถ้าเราอยากได้แบบ Modern ล่ะ? ก็เป็นแนว Tropical Modern สิ้ เอาของเมืองนอกเมืองนามาทั้งที เราก็ต้องรู้จักปรับประยุกต์ให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศ วัฒนธรรม และลักษณะการใช้ชีวิต ของเมืองไทยเราด้วย ลอกมาทั้งดุ้นแล้วเอามาใช้เลยนั้น มันง่ายเกินไปครับ....

อย่างบ้านด้านบนรูปแรกเลย และรูปบ้านในด้านล่างนี้ ก็ เป็นงานออกแบบในสไตล์ modern เน้นกระจกแต่ประยุกต์รูปแบบอาคารให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศในเมืองไทยที่เป็นเมืองร้อน นอกจากนั้นยังจัดสระว่ายน้ำ และสภาพแวดล้อมให้มีความร่มรื่น ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของไทย

ส่วนภาพด่านล้างนี้ เป็นมุมหนึ่งของร้านกาแฟ ที่ออกแบบให้ดูทันสมัย แต่มีบรรยากาศที่น่านั่งและอบอุ่น ที่ลงตัวกับภูมิอากาศแบบไทยๆเช่นกัน
     ส่วนงานออกแบบบ้านอื่นๆของผมที่น่าสนใจ เช่น บ้านแบบทั่วๆไปในลักษณะคลาสสิค ก็สามารถทำได้เช่นกัน บ้านสไตล์อื่น รวมถึงอาคารอื่นๆ จะนำมาอัพเดทลงเวปของผมทีหลังแล้วกันครับ

อีกคำถามนึงที่เจอกันบ่อยๆ ค่าออกแบบอาคารล่ะ เขาคิดกันอย่างไร?

ต้องทำความเข้าใจก่อนครับ ในตอนนี้ก็มีกลุ่มหลายวิชาชีพที่รับเขียนออกแบบเขียนแบบบ้าน ทั้งสถาปนิก วิศวกรที่พอเขียนแบบบ้านได้ ผู้รับเหมาช่างก่อสร้างที่เขียนแบบได้ และก็ คนที่เรียนจบปวช หรือปวส ด้านก่อสร้างทั่วๆไป ก็เขียนได้ ( เขียนได้แต่ออกแบบได้หรือไม่นั้นก็อีกเรื่องนะครับ )

ถ้าอยากได้คนเขียนแบบบ้านถูกๆ เขียนไม่แพงหาได้ไม่ยาก ค่าเขียนแบบก็ไม่แพงครับ แค่แผ่นล่ะ 400-600 บาทเท่านั้น หรือรับเขียนกันหลังล่ะไม่กี่หมื่น ก็มีมาก แต่นั่นคือค่าเขียนแบบ ซึ่งเด็กเรียนจบ ปวช. ปวส.ด้านก่อสร้างก็เขียนได้แล้ว แต่แบบจะออกมาดีไหมนั่นมันก็อีกเรื่อง? และนั่นก็ไม่ใช่คุณค่าของการออกแบบ ไม่ใช่ค่าความคิดที่ออกมาจากมันสมอง ไม่ใช่ค่าวิชาชีพ ประสบการณ์ และการรับผิดชอบของงานที่มาจากสถาปนิกครับ

แบบบ้านที่ใช้ความคิดในการออกแบบที่ดี ต้องสวยงามลงตัวกับสภาพที่ดินและสภาพภูมิอากาศ แบบร้อนชื้นของไทย รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ และที่ออกมาจากตัวเราจริงๆ มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครนั้นยากครับ เพราะต้องออกแบบมาจากความคิดและประสบการณ์ของสถาปนิกครับ รวมถึงการทำ 3D ให้เจ้าของบ้านเห็นภาพเสมือนจริง และการเป็นที่ปรึกษาให้เจ้าของบ้านในระหว่างก่อสร้างเพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆให้เจ้าของบ้านด้วย รับผิดชอบเยอะนะครับ

ค่าออกแบบตามจรรยาบรรณของวิชาชีพสถาปนิกนั้น มันมีเรทราคาเป็นมาตรฐานครับ แต่ส่วนใหญ่ก็คิดประมาณ 5-7% ของราคาบ้าน บางรายอาจคิดมากหรือน้อยกว่านี้แล้วแต่ตกลงกัน ซึ่งขึ้นกับความรับผิดชอบและเนื้องานต่างๆด้วย บางรายออกแบบภายนอกอย่างเดียว บางรายแถมทั้งภายใน(เบื้องต้น) แล้วก็ออกแบบบจัดสวน รวมถึงออกแบบบ้านในโหมดอาคารประหยัดพลังงาน โดยคิดค่าออกแบบให้คุณในราคาเท่าเดิมอย่างเราเป็นต้น...

ถ้างานราคายิ่งสูง % ค่าออกแบบก็จะลดลั่นลงไปตามราคาครับ
ออกแบบบ้านหลังนึงไม่ได้จบกันง่ายๆนะครับ กว่าจะออกแบบแก้แบบจนพอใจ ไหนจะช่วยเจ้าของบ้านดูและเป็นที่ปรึกษาต่างๆระหว่างก่อสร้างอีก กว่าจะจบงานกันเป็นปีๆเลยครับ

แล้วงานที่ราคาต่ำๆถูกๆกว่ามาตรฐานล่ะเขาทำได้ไง?

งานราคาถูกๆกว่ามาตรฐานคนทำจะตั้งใจทำเหรอครับ ? ง่ายๆเขาก็ทำงานให้น้อยลง คิดน้อยๆ รับผิดชอบน้อยๆ ทำงานเร็วๆ เพราะทำหยาบๆ ไม่ละเอียด บางทีเขาเอางานเก่าๆ หรือเอาแบบสำเร็จรูปที่หาได้ทั่วไปมาจับยัดลงในที่ดินของคุณโดยไม่ได้คิดอะไรให้เลย เขียนอย่างเดียวจนจบแต่ไม่คำนึงเรื่องอื่นที่จะมีปัญหาตามมาภายหลัง ถึงมีปัญหาเขาก็ไม่อยู่แล้วเพราะรับเงินไปหมดแล้ว!

หรือบางท่านอยากจ้างคนจบใหม่ๆ มาออกแบบให้เพราะคิดว่าค่าใช้จ่ายถูกกว่า? ใช่ครับถูกกว่าจริงๆ แต่อย่าลืมว่าคนจบใหม่ๆนั้นยังไม่มีประสบการณ์ ซึ่งประสบการณ์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดไม่แพ้ความรู้ในเชิงวิชาการ แล้วคุณกล้าไว้ใจเขาให้ออกแบบทำบ้านให้เหรอครับ ไม่ได้ดูถูกน้องๆที่จบใหม่เพราะตัวเองก็เคยผ่านทางนี้มาก่อนทำให้รับรู้ได้เลยว่าประสบการณ์นั้นมีค่ามากๆจริงๆ

เชื่อเถอะครับว่าสถาปนิกเก่งๆ ออกแบบบ้านได้สวยๆ มีความรับผิดชอบดีๆ เขาจะไม่ยอมลดค่าตัว ลดค่าวิชาชีพให้ต่ำกว่าเรทมาตรฐานของค่าวิชาชีพ แน่นอน ซึ่งสิ่งที่จะพิสูจน์ฝีมือว่า สมราคาและมีคุณภาพหรือไม่นั้น คือผลงานที่ผ่านมาของเขานั่นเอง....

สำคัญเราต้องรู้จักเสียในสิ่งที่ควรเสีย
ประหยัดได้ แต่อย่างกครับ"

แล้วงกต่างกับประหยัดอย่างไร? ประหยัดคือ "ไม่ยอมเสียในสิ่งที่ไม่ควรเสีย แต่ยอมเสียในสิ่งที่ควรเสีย" ส่วนงกนั้น "
คือการไม่ยอมเสียในสิ่งที่ควรเสียครับ" ซึ่งไม่เกี่ยวว่าจะมีหรือไม่มีเงิน คนมีเงินมากๆก็งกได้ครับ อยู่ที่ว่าคุณจะเข้าใจว่าสิ่งใดควรเสียมากกว่าครับ

บ้านที่ดี สื่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งมาจากคุณค่าของการออกแบบนะครับ บ้านหลังนึงชีวิตเราจะมีได้สักกี่หลังกัน?
นั่นคือสิ่งที่คุณควรจะเสียถ้าคุณต้องการสถาปนิกมาออกแบบบ้านที่ดีๆให้ครับ

ส่วนเรื่องงบตรงนี้นั้นเข้าใจครับว่าแต่ล่ะท่านมีปัจจัยที่ไม่เท่ากัน บางท่านอยากจะสร้างบ้านแต่ไม่มีงบให้กับค่าออกแบบ ถ้าท่านถ้าอยากจะได้แบบที่ไม่เสียค่าออกแบบ ก็มีทางเลือกครับ คือคงต้องหาแบบบ้านตามหนังสือต่างๆรวมแบบบ้านต่างๆ หรือแบบบ้านตามบ้านจัดสรรในสไตล์ที่คุณชอบ หรือแบบที่เขาแจกแบบฟรีๆ มาใช้ ซึ่งก็มีให้เลือกมากมาย แล้วค่อยไปจ้างให้ผู้รับเหมาสร้างตามแบบนั้นหรือให้เขาเขียนแบบให้ (
ซึ่งไม่ใช่การออกแบบ) และท่านเองอาจคิดว่า นี่ไงไม่เห็นจะต้องเสียค่าออกแบบเลย? แต่...? ไม่จริงเลย ผู้รับเหมาเองเขาก็ต้องไปจ้างคนอื่นเขียนแบบให้ต่ออีกที เมื่อมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเขาก็เอาทุนในค่าแบบนั้นเอามาบวกในราคาบ้านท่านเรียบร้อยแล้ว โดยที่ท่านไม่ทราบ แล้วอาจบอกกับท่านว่าไม่คิดค่าออกแบบ
ซึ่งนอกจากนั้นโดยบวกโดยไม่ทราบแล้ว ท่านก็จะได้บ้านแบบทั่วๆไป ที่ไม่แตกต่าง ไม่มีเอกลักษณ์ และไม่ลงตัวกับสภาพที่ดินและสิ่งแวดล้อม และไม่ได้ออกมาจากความต้องการของคุณ100% เพราะมันจะไม่ใช่แบบบ้านที่ดีที่สุดสำหรับคุณและที่ดินคุณแน่นอนครับ

ส่วน บ.ที่เขารับสร้างบ้านล่ะ? เขามีแบบสำเร็จรูปนี่นา? ไม่ต้องเสียค่าออกแบบด้วย เลือกแบบจากเขาแล้วไปจ้างเขามาสร้างน่าจะถูกและคุ้มกว่านะ?

แต่เชื่อหรือไม่ครับ! คุณไปจ้างสถาปนิกออกแบบ + ไปหาผู้รับเหมามาสร้างให้คุณเอง คุณสามารถสร้างได้ราคาต่ำกว่าถูกกว่าบ.ที่เขารับสร้างบ้านเสียอีก!!... เพราะคุณไม่ต้องโดนเขาบวกในค่ากำไรในส่วนของเขารับอีกทีน่ะสิครับ บ.แบบนี้หลายๆแห่งก็จ้างผู้รับเหมารายย่อยมาเป็นซับให้ทั้งนั้นแหละครับ

บ้านของผู้ที่มีรสนิยมๆ ที่เขาต้องการบ้านที่ลงตัวส่วนใหญ่เขาจ้างสถาปนิกออกแบบให้ทั้งนั้นครับ ซึ่งตรงนี้ต้องอยู่ที่คนออกแบบด้วย บ้านที่ออกแบบมาจากสถาปนิก ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา มันขึ้นกับความรู้ ประสบการณ์และฝีมือของสถาปนิกแต่ล่ะท่านด้วย


อย่าว่าแต่เรื่องบ้านเลย เรื่องอาคารขนาดใหญ่ก็สำคัญ และสามารถเกิดปัญหาขึ้นได้ ถ้าตอนออกแบบแล้ว ไม่ได้คำนึงถึงปัญหาเรื่องความร้อนในบ้านเมืองเราได้เช่นกัน
เดิมอาคารสำนักงานแห่งนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นอาคารสมัยใหม่ ทำให้มีกระจกเป็นส่วนประกอบหลักของอาคาร และเป็นด้านที่เป็นกระจกหลักนั้นได้รับแสงแดดโดยตรงเกือบตลอดวัน (ทิศตะวันตกเฉียงใต้) ทำให้มีปัญหาเรื่องความร้อนเข้ามาทางผนังกระจก จนทำให้พนักงานที่ทำงานอยู่รู้สึกร้อน(ขนาดมีม่านอีกชั้น) และนั่นก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อาคารนี้มีการสิ้นเปลืองพลังงานอย่างมากจากเครื่องปรับอากาศ

แล้วเจ้าของอาคารก็ติดต่อให้ทางเราเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาให้.... ซึ่งเป็นอีกวิชาชีพที่เราทำเช่นกันในการ renovate บ้านและอาคารเก่า แต่ในเคสนี้เป็นการการแก้ปัญหาความร้อนที่เข้ามาภายในอาคารและลดการใช้พลังงานของอาคาร

แนวทางการออกแบบแก้ไขแบบง่ายๆและเหมาะสมลงตัวคือ คือการทำแผงบังแดดที่ต้องดูสวยงามและทันสมัยเข้ากับอาคาร ตลอดจนขนาดพื้นที่และการยื่นของแผงบังแดดนั้น ควรยื่นออกไปเท่าไหร่ถึงจะช่วยลดความร้อนให้แก่อาคารได้และคุ้มกับการลงทุนมากที่สุด เพราะวัสดุตัวนี้มีราคาต่อตารางเมตรสูง ดังนั้นข้อมูลต้องสำคัญเพื่อให้ได้ความคุ้มค่ามากที่สุด

1. แนวทางการออกแบบแก้ไข
คำนึงถึงความง่ายและความสวยงาม โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปให้ติดตั้งแผงบังแดดยื่นออกไป 2ม.จะมีความเหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด และต้องออกแบบให้สวยงามลงตัวกับอาคาร แผงบังแดดชนิดนี้เป็นบานเกร็ดอลูมิเนียม (Ellipse Louver) ที่เป็นบานเกร็ดซ้อนกัน โปร่ง ไม่ทึบ แต่ทำให้เกิดเงาป้องกันแสงแดดได้ 100% ซึ่งนอกจากจะทำให้ป้องกันแสงแดดโดยตรงที่มีความร้อนได้ 100% แต่ยังมีแสงสว่างที่เกิดจากการสะท้อน จากบานเกล็ด(ไม่มีความร้อน) เข้ามาภายในอาคาร จึงไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าไฟให้กับระบบไฟฟ้าแสงสว่างในช่วงตอนกลางวัน อีกด้วย

2.ประสิทธิภาพการป้องการความร้อนเข้าอาคาร
- จากเดิมในช่วงเดือนธันวาคม ผนังอาคารด้านนี้จะโดนแดดช่วงตั้งแต่เวลา 9.00 น. แต่หลังจากการติดตั้งแผงนี้จะเริ่มโดนแดด(จากกระจกด้านล่าง) ตั้งแต่เวลา 13.00 น.ขึ้นไป
- ในช่วงเดือนเมษายน ผนังอาคารด้านนี้จะโดนแดดช่วงตั้งแต่เวลา 11.00 น. แต่หลังจากการติดตั้งจะทำให้โดนแดดหลังจากเวลา 15.00 น.
สรุปว่า จะสามารถป้องกันแสงแดดที่นำความร้อนเข้าอาคารจากผนังกระจกได้กว่า 50% ของเวลาใช้งานอาคาร และช่วงที่โดนแดดนั้นเป็นช่วงเย็นที่แสงแดดมีความร้อนที่ไม่มากนัก


หวังว่าคงสมกับเป็นเรื่องบ้านๆกับอาคารๆ จริงๆนะครับ

 

          Unique  Since 1 August 2007 All Hits

 

© 2006 Nature and Trend Co.,Ltd.