อาคารโอเอสซี

บทสัมภาษณ์ลูกค้าท่านอื่นๆ

ลักษณะงาน โครงการออกแบบปรับปรุงเปลือกอาคารเพื่อลดการใช้พลังงาน

ผู้ออกแบบปรับปรุงอาคาร  : เอกลักษณ์  วงศ์พานิช  (Architect) Nature & Trend co.,ltd

อาคาร : โอเอสซี 

เจ้าของอาคาร : บริษัท โอเรียนตัลสยาม

(1978) จำกัด

ลักษณะอาคาร : อาคารสำนักงาน

สูง 6 ชั้น พื้นที่ใช้สอย กว่า 10,000 ตรม.

 

      แต่เดิมอาคารสำนักงานแห่งนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็น

อาคารสมัยใหม่   ทำให้มีกระจกเป็นส่วนประกอบหลักของอาคาร

และเป็นด้านที่เป็นกระจกหลักนั้นได้รับแสงแดดโดยตรงเกือบตลอดวัน

ทิศตะวันตกเฉียงใต้) ทำให้มีปัญหาเรื่องความร้อนเข้ามาทางผนังกระจก

จนทำให้พนักงานที่ทำงานอยู่รู้สึกร้อน(ขนาดมีม่านอีกชั้น)  

และนั่นก็เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อาคารนี้มีการสิ้นเปลืองพลังงาน

อย่างมากจากเครื่องปรับอากาศ 

เจ้าของอาคาร ได้ให้ทาง Nature & Trend   มาเป็นที่ปรึกษา

ในออกแบบปรับปรุงตัวอาคาร เพื่อลดความร้อนที่เข้ามาภายในอาคาร

 และลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศของอาคาร

Nature & Trend   จึงได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้น  ตลอดจนการวิเคราะห์แนวทางออกแบบแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าการลงทุน

ที่สุดของอาคาร

 

ข้อมูลเบื้องต้นมีดังนี้

 

-          จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น สามารถสรุปได้ว่า อาคารแห่งนี้เป็นอาคารสมัยใหม่ที่เน้นกระจก และทิศทางของด้านหลักของอาคาร

ที่เป็นกระจกอยู่ในทิศที่โดยแดดตลอดวัน(ทิศตะวันตกเฉียงใต้)     จึงไม่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของเมืองไทยที่ร้อน

และมีแสงแดดเข้ามาทางทิศใต้เกือบตลอดปี   ทำให้มีความร้อนเข้ามาภายในอาคารมาก(กว่า8ชม. ในช่วงเดือนธันวาคม)

ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ภายในอาคารนี้ร้อนและสิ้นเปลืองพลังงานอย่างมากจากเครื่องปรับอากาศ

 

-          แนวทางการออกแบบแก้ไขแบบง่ายๆและเหมาะสมลงตัวคือ  คือการทำแผงบังแดดที่ต้องดูสวยงามและทันสมัยเข้ากับอาคาร 

 ตลอดจนขนาดพื้นที่และการยื่นของแผงบังแดดนั้น   ควรยื่นออกไปเท่าไหร่ถึงจะช่วยลดความร้อนให้แก่อาคารได้และคุ้มกับการลงทุน

มากที่สุด   เพราะวัสดุตัวนี้มีราคาต่อตารางเมตรสูง  ดังนั้นข้อมูลต้องสำคัญเพื่อให้ได้ความคุ้มค่ามากที่สุด

 

 

 

 

ภาพจำลองแสดงประสิทธิภาพการป้องกันแสงแดด   

ในช่วงวันที่ 16ธันวาคา เวลา 13.30 น.หลังจากติดแผงกันแดด

บนชั้น 3 และ 4เปรียบเทียบกับชั้น 5 และ 6 ที่ยังไม่ได้ติดตั้ง

 

 

 

 

 

 

 

ภาพจำลองแสดงประสิทธิภาพการป้องกันแสงแดด 

ในช่วงวันที่ 16 เมษายน เวลา 14.30 น.หลังจากติดแผงกันแดด

บนชั้น 3และ 4 เปรียบเทียบกับชั้น 5 และ 6 ที่ยังไม่ได้ติดตั้ง

 

 

 

           Nature & Trend  ได้นำเสนอข้อมูล  พร้อม shading model  เปรียบเทียบแสงเงาระหว่างติดตั้งแผงบังแดดและไม่ติดตั้ง   ซึ่งสามารถ

วิเคราะห์สรุปข้อมูล  และแนวทางการออกแบบก่อนปรังปรุงได้ดังนี้

 

1. แนวทางการออกแบบ

 

        คำนึงถึงความง่ายและความสวยงาม โดยจากการวิเคราะห์

ข้อมูล สรุปให้ติดตั้งแผงบังแดดยื่นออกไป 2ม.จะมีความเหมาะสม

และคุ้มค่าที่สุด  และต้องออกแบบให้สวยงามลงตัวกับอาคาร  

 แผงบังแดดชนิดนี้เป็นบานเกร็ดอลูมิเนียม (Ellipse Louver)

  ที่เป็นบานเกร็ดซ้อนกัน   โปร่ง ไม่ทึบ แต่ทำให้เกิดเงาป้องกัน

แสงแดดได้ 100% ซึ่งนอกจากจะทำให้ป้องกันแสงแดด

โดยตรงที่มีความร้อนได้ 100%   แต่ยังมีแสงสว่างที่เกิด

จากการสะท้อน จากบานเกล็ด(ไม่มีความร้อน) เข้ามาภายในอาคาร 

จึงไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าไฟให้กับระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

ในช่วงตอนกลางวัน อีกด้วย

 

2.ประสิทธิภาพการป้องการความร้อนเข้าอาคาร

 

-          จากเดิมในช่วงเดือนธันวาคม ผนังอาคารด้านนี้จะโดนแดด

ช่วงตั้งแต่เวลา  9.00 น.  แต่หลังจากการติดตั้งแผงนี้จะเริ่ม

โดนแดด(จากกระจกด้านล่าง) ตั้งแต่เวลา 13.00 น.ขึ้นไป

-  ในช่วงเดือนเมษายน ผนังอาคารด้านนี้จะโดนแดดช่วงตั้งแต่เวลา 11.00 น.  แต่หลังจากการติดตั้งจะทำให้โดนแดดหลังจากเวลา 15.00 น.

 

       สรุปว่า จะสามารถป้องกันแสงแดดที่นำความร้อนเข้าอาคารจากผนังกระจกได้กว่า  50% ของเวลาใช้งานอาคาร    

 และช่วงที่โดนแดดนั้นเป็นช่วงเย็นที่แสงแดดมีความร้อนที่ไม่มากนัก

 

3. ความคุ้มทุน

 

     ขอสรุปเพื่อความเช้าใจแบบง่ายๆ สำหรับทุกท่าน 

 เดิมอาคารแห่งนี้ได้รับความร้อนจากแสงแดดตลอดวัน  

 มีการเสียค่าไฟทั้งหมด ตกประมาณ  200,000 กว่าบาท/เดือน

(คิด 4ชั้นที่ติดแผงบังแดด)   ประมาณ 70% ของค่าไฟ

มาจากระบบปรับอากาศ ซึ่งตกประมาณ 140,000 บาท

หลังจากติดตั้งแผงบังแดดแล้ว จะทำให้มีค่า ottv

(ค่าความร้อนเข้าสู่อาคาร) ลดลงเกินครึ่ง  

ทำให้มีโหลดการทำงานและค่าไฟฟ้าจากการ

ใช้เครื่องปรับอากาศลดลงอย่างน้อยประมาณ

20 - 30 % (28,000-40,000 บาท)

ซึ่งจะทำให้คุ้มกับการลงทุนภายในระยะเวลา 5 - 6 ปี 

 

 

 

บทสัมภาษณ์  คุณ ประสิทธิ์ ภวัครานนท์  

( Director International Marketing Dept.)

      บริษัท โอเรียนตัลสยาม(1978) จำกัด (เจ้าของอาคาร)

 

อย่างแรกที่เห็น คือบอกได้เลยว่าอาคาร

ของเราดูสวยขึ้น   และเมื่ออยู่ในอาคาร

ตอนกลางวันรู้สึกได้เลยว่าความร้อนที่

เข้ามาในอาคารหายไป   เพราะเมื่อก่อน

เวลาเดินผ่านจะรู้สึกได้เลยว่ามีความร้อน

เข้ามาทางด้านที่เป็นกระจก   แต่หลังจาก

ติดตั้งก็ไม่รู้สึกแล้ว...     คิดว่าคุ้มค่ามากๆ

เพราะนอกจากทำให้อาคารดูสวยขึ้น

 ยังจะสามารถลดค่าไฟของเรา

ลงไปได้เยอะเลยทีเดียว

 

 

 

          Unique  Last Update 27 August 2007 All Hits

 

© 2006 Nature and Trend Co.,Ltd.